Hell Yeah Pointer 1 APINAN@DESIGN

#ผลงานวิชาการ

ประกาศ-ก.พ.อ.-2564

หนังสือกับตำรา    เอกสารวิชาการ

ตำรา  นิยามไว้ว่า

          ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา  หรือของหลักสูตรก็ได้  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

หนังสือ นิยามไว้ว่า

          ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง  และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร  และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง  ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย  เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์

#1 เทคนิคการเขียน ตำรา และหนังสือ

#2 แนวทางการเขียน ตำรา และ หนังสือ

#3 วิธีเขียนตำรา และ หนังสือ

#4 เทคนิคการเขียนตำรา และอ้างอิง

#5 การเขียนตำรา ในรูปแบบ e-book

#6 การใชหนังสือ/ตําราเพื่อขอตําแหนงวิชาการ

 เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 2042105  #66

คอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อการออกแบบงานนิเทศศิลป์  #สอบ

...................................................................................

บทที่ 1  บทนำ
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #4  #5  #6  #7  #1 #2 #3  #4 #5 #6  
...................................................................................

บทที่ 2  การออกแบบนิเทศศิลป์
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #4  #5  #6  #7  
...................................................................................     

บทที่ 3  การจัดองค์ประกอบ
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #1 #2 #3  
................................................................................... 

บทที่ 4  หลักการใช้สีในคอมพิวเตอร์
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #4  #5  #1 #2 #3 #4 #5 #6 #7 #8 #9 
...................................................................................

บทที่ 5  โปรแกรมสำหรับงานออกแบบกราฟิก
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #4  #5  #6  #7  #8  #9  #10
................................................................................... 

บทที่ 6  คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งาน
แบบฝึกหัดท้ายบท
ภาคผนวก   #1  #2  #3  #4  #5  
...................................................................................

บรรณานุกรม   #1
...................................................................................

Packaging Design

 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designหมายถึง การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์


ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านการค้าสูง  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเข้มแข็งด้านการจัดการตลาด หรือการพัฒนารูปแบบคงจึงยังไม่เพียงพอ  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสงเสริม  เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้มีความเข้มแข็งในการทำธุรกิจและขยายตลาด  เบื้องต้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมาตลอดจนความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวคิดในการเรียนรู้อดีต ศึกษาปัจจุบัน เพื่อก้าวไปในอนาคต ความเข้าใจเรื่องราวของบรรจุภัณฑ์ในบทนี้จะช่วยให้การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการ เล็งเห็นความ สำคัญในการเลือกพัฒนาบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง  ได้อย่างโดดเด่นน่าสนใจ

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1.  ความหมายของการออกแบบ

มีผู้เชี่ยวชาญได้ นิยามความหมายของการออกแบบ (Design) ไว้ ดังนี้

กูด (Good 1973:165) กล่าวว่า การออกแบบ เป็นการวางแผนหรือกำหนดรูปแบบรวมทั้งการตกแต่งในโครงสร้างรูปทรงของงานศิลปะ ทัศนศิลป์ดนตรี ตลอดจนวรรณกรรม

โกฟ (Gove 1956:611)  เป็นการจัดแต่งองค์ประกอบมูลฐานในการสร้างงานศิลปกรรม เครื่องจักร หรือประดิษฐ์กรรม

ศิริพงศ์ พยอมแย้ม(2537:22)  กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง กระบวนการทางความคิดในอันที่จะวางแผนรวบรวมองค์ประกอบทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสรรค์ หรือปรับปรุงประดิษฐกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านความงาม

วิรุณ ตั้งเจริญ (2539:20)   กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบโดยการวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิต

มาโนช กงกะนันทน์ (2538:27) กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์หนึ่งของมนุษย์ โดยมีทัศนธาตุและลักษณะธาตุเป็นองค์ประกอบ

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ (2540:1)  กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง เป็นการสร้างสรรค์ที่มีผลปรากฏเป็นรูปธรรม คือ มีรูปร่างหรือรูปทรงซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการดำรงรูปร่างหรือรูปทรงนั้นๆ

พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ (2530 : 596)  การออกแบบ คือ การทำเป็นต้นแบบทำเป็นแผนผัง             paste_image5.jpg

2.  ความหมายของบรรจุภัณฑ์

นิยามของคำว่าบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ได้กล่าวไว้ ดังนี้

กองส่งเสริมอุตสาหกรรม(2517:19) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังแหล่งใช้ประโยชน์ โดยความประหยัดและปลอดภัย

นิไกโด เคล็คเจอร์(Nikaido Clecture) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการขายกับการประสานประโยชน์ระหว่างวัตถุกับภาชนะบรรจุ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองในระหว่างการขนส่งและการเก็บรักษาในคลัง

ในพจนานุกรมใหม่ของ เว็บสเตอร์ส (Webster's new collegiate Dictionary:1956)  กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือ กล่องหรือหีบห่อที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรักษาหรือเพื่อการขนส่ง

สุดาดวง เรืองรุจิระ(2529:128) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดขบวนการทางการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบ สร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์

ประชิด ทิณบุตร(2531:20)กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง หน่วยรูปแบบของวัตถุภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง หรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในไม่ให้เกิดความเสียหาย  สะดวกในการขนส่ง  และเอื้อประโยชน์ในทางการค้าและต่อการบริโภค

บริสตันและนีลล์(Briston And Neill,1972:1) ได้ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ประการกว้างๆ คือ

1) การบรรจุภัณฑ์ คือ ศิลปะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการตระเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย

2) การบรรจุภัณฑ์ คือวิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์และมีราคาที่เหมาะสม

            ดารณี พานทอง(2524:29) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งบริโภคหรือแหล่งใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ  ตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกัน เมื่อแรกผลิตให้มากที่สุดนอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตและหีบห่อ อาจสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการตลาด วัตถุประสงค์ทางด้านการเก็บรักษา เป็นต้น

     จรูญ โกสีย์ไกรนิรมล (2528:109)  กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือการนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะห่อหุ้มสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่มีความแข็งแรง สวยงามได้สัดส่วนที่ถูกต้องสร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดความพึงพอใจ จากผู้ซื้อสินค้า

          นอกจากนี้ยังมีผู้นิยามความหมายของบรรจุภัณฑ์ในอีกหลายความหมาย ได้แก่

                    การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุ  หรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์

                    การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง  การนำวัสดุ (เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ) มาประกอบเป็นภาชนะห่อหุ้มสินค้า  เพื่อประโยชน์ด้านความแข็งแรง  สวยงาม  สร้างความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้านั้น

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง  สิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์  จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค  เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย

...............................................................................................................

#1 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ / วัตถุประสงค์ / หน้าที่ / การใช้สี / ข้อควรระวัง / กฎหมาย / บรรจุภัณฑ์กระดาษ / #บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

ผลงานวิชาการ บทความวิจัย/ส่งขอทุวิจัย apinan.panphet@research.or.th

ตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสาร

WORK PAPER

.................................................................................................................................................

ตีพิมพ์บทความวิชาการ

2565 2022

อภินันท์ ปานเพชร. (2565). ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง ในโลกของความหลากหลายทางชีวภาพ COP15 2021. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. ปีที่ 9 (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2565). หน้า 124-136.

TCI 2  #1
.................................................................................................................................................

2565 2022 / ภาพกิจกรรม

อภินันท์ ปานเพชร. (2565). ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง 2021 COP15. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 32 ประจำปี 2565. ปี 2565 เดือนมีนาคม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. (9-16).
(25 มีนาคม 2565)

.................................................................................................................................................

ตีพิมพ์บทความวิจัย

2563 2020 / Poster / ภาพกิจกรรม

อภินันท์ ปานเพชร, พิทักษ์ เรืองรัศมี, วรวุฒิ ทาแก้ว, ปิยะนุช ไสยกิจ. (2563). การออกแบบ อัตลักษณ์และการผลิตสื่อสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนตำบลคอรุม อำเภอพิชัยจังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 3. ปี 2563 เดือน สิงหาคม. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (442-448).
(14 สิงหาคม 2563)

.................................................................................................................................................

2562  2019 / Poster / ภาพกิจกรรม

อภินันท์ ปานเพชร. (2562). การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ผลงานภาพพิมพ์คอมพิวเตอร์กราฟิกเชิงสุนทรียศาสตร์ เรื่อง นึกถึง อาจารย์ถวัลย์. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 2. ปี 2562 เดือน สิงหาคม. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (425-431). 

(23 สิงหาคม 2562)

.................................................................................................................................................

2559

อภินันท์ ปานเพชร. (2559). การออกแบบฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผลงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของหลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. ปีที่ 3 (ฉบับที่ 2 เมษายน – กันยายน 2559). หน้า 79-92.

.................................................................................................................................................

 2558  

อภินันท์ ปานเพชร. (2558). การพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชั่นภาพ 3 มิติ ท่าทางการเดิน ประกอบรายวิชา 2034415A ออกแบบแอนิเมชั่น 3 มิติ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2 เมษายน – กันยายน 2558). หน้า 165-172.

.................................................................................................................................................

ผลงานสร้าวสรรค์ เผยแพร่นิทรรศการ


2566  สูจิบัตร

            อภินันท์ ปานเพชร. (2566). เมืองลับแล อุตรดิตถ์. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ ประจำปี 2566 (SILPA 2023 : Creative Works Exhibition). วันที่ 15-30 กันยายน 2566. หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ.

......................................................................................................................................................

2565  สูจิบัตร

อภินันท์ ปานเพชร. (2565). รำลึกอาจารย์ถวัลย์ บ้านดำ. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ ประจำปี 2565 (SILPA 2022 : Creative Works Exhibition). วันที่ 15-30 กันยายน 2565. หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ.


......................................................................................................................................................


2564

อภินันท์ ปานเพชร. (2564). All thingh are related to 2021. นิทรรศการการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP 15) "Green Lancang-Mekong Cooperation International Poster Design Exhibition 2021". วันที่ 8-10 ตุลาคม 2564. แคว้นปกครองตนเองชนชาติไป๋ เมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.

          อภินันท์ ปานเพชร. (2564). Diversity 2021. นิทรรศการการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP 15) "Green Lancang-Mekong Cooperation International Poster Design Exhibition 2021". วันที่ 8-10 ตุลาคม 2564. แคว้นปกครองตนเองชนชาติไป๋ เมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน.


ผลงานได้รับรางวัล - จัดแสดงผลงาน

2564 -2021



1 >< 2 >

ผลงานออกแบบโปสเตอร์จำนวน 2 ผลงาน ได้รับการพิจารณาให้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในการแข่งขันออกแบบโปสเตอร์นานาชาติล้านช้าง-แม่โขง 2564

http://www.lmcda.org.cn/News.aspx  + https://www.lmcda.org.cn/

http://human.uru.ac.th                    + https://dawtainewonline.blogspot.com

https://thainews.prd.go.th               + http://www.china.org.cn

https://www.artdesign.org               + https://exhibit.artron.net

http://www.shejijingsai.com            + http://www.art.ynu.edu.cn

https://m.thepaper.cn                      + http://www.cchpf.cn

+ http://www.lmcchina.org + http://www.lmcchina.org

http://www.news.ynu.edu.cn          +https://www.cnyisai.com

https://www.zyadp.com                 + https://weibo.com

https://mp.pdnews.cn                      + https://mp.weixin.qq.com

https://news.sina.com.cn                  + https://www.mwfoundation.cn/lmcda/

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

+ https://www.shejijingsai.com          + http://www.ideaxia.com   #1  #2  #3  #4

https://www.shejijingsai.com          + https://www.artwun.com  #1    #2

http://www.visionunion.com            + https://www.cafa.edu.cn

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////// 

รับรางวัลประกวดต้นแบบของที่ระลึก ศิลปะการแสดงกระตั้วแทงเสือ / ประกาศผล

......................................................................................................................................

2565
ได้รับรางวัลที่ 3 ผลงาน 1 ใน 10 ผลงานจากการประกวดออกแบบโปสเตอร์นานาชาติล้านช้าง-แม่โขง
2564 : กรีนล้านช้าง-แม่โขง รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล จัดประกวดโดยความ ร่วมมือของนิตยสารไชน่ารีพอร์ต
สถาบันวิจิตรศิลป์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัย ยูนนาน , มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เครือข่ายนิตยสารแม่น้ำโขงและหน่วยงานอื่นๆ และผลงานยังร่วมจัดแสดงนิทรรศการ
ในการประชุมในงานเทศกาลต่างๆ ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
จากผลงานทั้งหมด 2,000 กว่าชิ้น

......................................................................................................................................

2564
ได้รับรางวัลชนะเลิศผลงาน 1 ใน 5 ผลงานจากกิจกรรมประกวดต้นแบบของที่ระลึก
ศิลปะการแสดงกระตั้วแทงเสือ ภายใต้กิจกรรมแฮกกาธอน (U2T Hackathon 2021)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564
รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล

......................................................................................................................................

2563
ได้รับรางวัลชมเชย รับเกียรติบัตร พร้อมของที่ระลึก ฐานบุคลากรทางการศึกษาศิลปะ
โครงการสืบ ศาสตร์ สานศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ (ศิลปินแห่งชาติสัญจร)
เมื่อวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

......................................................................................................................................

2560
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล โครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560

......................................................................................................................................

2557

ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการออกแบบ LOGO สัญลักษณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล